วันที่ 14 ก.ค. 2560
ได้รับการติดต่อจากน้องมิ้นท์จากนสพ. Bangkok Post
สนใจเรื่องการอนุรักษ์แมวไทยอยากขอสัมภาษณ์ เราก็บอกว่างั้นมาวันนี้เลย
จะได้สัมภาษณ์ อาจารย์ตุ๊ก พร้อมกันไปเลยแต่ต้องรอให้งานเสร็จก่อน
วันนี้อาจารย์มาเจาะเลือดแมวทำการวิจัยแมวศุภลักษณ์
ขอแปลจาก
แมวเหล่านี้จะถูกเลี้ยงในกลุ่มคนชั้นสูง หรือราชวงศ์
ไม่เป็นที่แพร่หลายของคนทั่วไป จำนวนก็ค่อยๆ ลดลงมีการผสมข้ามสายพันธุ์
ทำให้เกิดมีลักษณะด้อยเกิดขึ้น ในบรรดาแมว 5 สายพันธุ์
สายพันธุ์ที่สูญพันธุ์ไปได้แก่ ศุภลักษณ์ และคนที่มีบทบาทสำคัญ
ในการฟื้นคืนสายพันธุ์แมวสีทองแดงคือ คุณปรีชา วัฒนา
มีประสบการเลี้ยงและผสมพันธุ์แมวมามากกว่า 10 ปี
แม้ว่าคุณปรีชาเพิ่งมาให้ความสำคัญกับแมวศุภลักษณ์ในช่วงไม่กี่ปีมานี้
สายพันธุ์ศุภลักษณ์สูญหายไปเป็นเวลานาน
แต่เราพบว่าแมวศุภลักษณ์มีอยู่ตามท้องถนนหรือแมวจรทั่วไป แต่กลับมีลักษณะ
สีรูปร่างใกล้เคียงและพบกระจัดกระจายตามจังหวัดต่างๆ ยังไม่มีใครสามารถเพาะพันธุ์ได้สำเร็จ
คุณปรีชาได้คัดสรรแมวที่มีลักษณะตรงตามตำรานำมาผสมพันธุ์คุณปรีชาได้แมวสีน้ำตาลบางส่วน
อย่างไรก็ตามมีลูกแมวบางส่วนทีบางสีผิดเพี้ยนไป บางตัวมีลายและบั้งซึ่งยังเป็นลักษณะด้อย
เรากำลังพัฒนาสายพันธุ์ศุภลักษณ์โดยร่วมกับม.เกษตรศาสตร์ กำแพงแสน
พยายามสืบเสาะให้ทราบถึง DNA ของแมว เพื่อช่วยในการคัดสรรสายพันธุ์ให้ตรงมากกว่า
สังเกตด้วยตาเปล่า บางครั้งลักษณะด้อยก็ไม่สามารถเห็นได้ เมื่อสัปดาห์ที่ผ่าน
ผศ. สพ.ญ.ดร. จันทร์จิรา ภวภูตานนท์ ได้มาเจาะเลือดเพื่อศึกษาและทดลอง DNA
ของแมวการนำ DNA ของแมวเป็นวิธีการที่เราจะรู้ล่วงหน้า แมวตัวไหนเหมาะที่จะผสมกัน
เผื่อคาดคุณลักษณะ วิธีนี้ใช้กันอย่างแพร่หลายกับสัตว์โดยทั่วไปไม่ใช่แค่แมวเท่านั้น
นอกเหนือจากเลือดซึ่งนำมาพิสูจน์ DNA แล้ว หางของแมวจะถูกสแกนเพื่อตรวจสอบยีนส์ด้อย
แมวที่หางยางต้องไม่หักที่หลาย ยีนส์ศุภลักษณ์ถือเป็นจำนวนที่น้อยมาก ทั้งประเทศ น้อยกว่า 100 ตัว
เราอยู่ในช่วงกำลังพัฒนา แมวไทยจัดเป็นต้นแบบของแมวทั่วโลก เช่น หิมาลายัน
ก็เกิดจากจากแมววิเชียรมาศผสมเปอร์เซีย เรามีสายพันธุ์แท้ดั้งเดิมเป็นของตัวเอง
แต่เราไม่รักษาหรือสงวนไว้ ถ้าเราไม่ทำอะไรมันก็คงสูญพันธุ์ สพ.ญ.ดร. จันทร์จิรา ภวภูตานนท์ กล่าว