แมวศุภลักษณ์ (แมวทองแดง)
พบได้แล้วที่ บางรัก กรุงเทพฯ เมื่อ วันที่ 9 มิถุนายน 2557
หลายคนคิดว่าหายสาบสูญไปแล้วจากประเทศไทย
และยังมีความเข้าใจผิดว่าแมวที่เห็นและเลี้ยงอยู่เป็นแมวศุภลักษณ์
หรืออาจได้รับข้อมูลเรื่องแมวศุภลักษณ์มาไม่ถูกต้อง
ซึ่งไม่ตรงกับลักษณะเฉพาะที่แท้จริง
ที่ถูกบันทึกไว้ในตำราสมุดข่อยมากกว่า 700 ปีมาแล้ว
มีรูปภาพหลายตำรา ที่มีลักษณะตรงกันคือ
มีสีเสมอกันทั้งตัว มีตาสีเหลือง
แมวที่ได้จากการผสมพันธุ์ และเกิดที่บางรัก กรุงเทพฯ
เป็นการนำพ่อแม่พันธุ์ที่มีลักษณะตามตำรา (สมุดข่อย)
มาจับคู่ผสมกันและได้ผลเป็นที่น่าพอใจ
ลูกทุกตัวที่เกิดได้สีเสมอกันทุกตัว เหมือนกันทั้งครอก
ซึ่งก่อนหน้านั้น เราลองทำการผสม โดยเอาตัวพ่อชื่อ
อโยธยา เป็นตัวยืนในการผสม เป็นแมวที่มีลักษณะ
เหมือนภาพในตำราก็ว่าได้ จึงได้เก็บเนื้อเยื่อกระพุ้งแก้ม
ไปตรวจสีขนได้รหัส DNA เป็น CC bb DD
ต่อมาจึงลองเอาแมวที่มีสีน้ำตาล แต่มีแต้มเข้มเหมือนวิเชียรมาศ 5 แม่
ซึ่งมีทั้งตาสีเหลือง ตาสีเขียวหยก ไม่สามารถถ่ายทอดพ่อเค้าได้
ลูกที่ผสมออกมากี่ครอกก็เป็นดำล้วนทุกตัว ทุกครอก
แต่ที่น่าสนใจคือบางตัวเป็นแมวดำล้วนแม้กระทั่งขนในรูหูก็สีดำ
ซึ่งหายากมากในปัจจุบัน
จากประสบการณ์ในครั้งนี้ทำให้มั่นใจว่า
แมวสีน้ำตาลล้วนต้องผสมกับน้ำตาลล้วนเท่านั้น
จะเป็นแมวที่มีหน้ากากไม่ได้ ถ้ามีหน้ากากอุ้งเท้ามักสีเข้ม
แมวสีน้ำตาลทุกตัวไม่ใช่แมวศุภลักษณ์ทุกตัว
แต่ถ้าเป็นแมวสีน้ำตาลที่มีแต้มแบบวิเชียรมาศ
ผสมกันไม่ว่าจะตาสีเหลือง หรือสีเขียวหยก
ลูกออกมาเป็นสีน้ำตาล
แต่ไม่ใช่ลักษณะแมวศุภลักษณ์ตามตำรา
ลักษณะของแมวศุภลักษณ์ (ทองแดง)
ที่สามาพิจารณาว่าใช่คือ
1. สีขนจะเป็นสีทองแดง เสมอกันทั่วทั้งตัว
ไม่มีสีอื่นปน ไม่ว่าจะเป็นแต้ม หรือจุด หรือลาย
2. สีตา จะเป็นสีเหลือง ไม่มีสีอื่น
เช่น เขียวหยก ฟ้า เทา
3. อุ้งเท้า จะเป็นสีน้ำตาลแดง-อมส้ม เท่านั้น
จะไม่มีสีอื่น เช่น สีเปลือกมังคุดสุกงอม-ดำ
4. ลักษณะรูปร่างเหมือนแมวไทยแท้ทั่วไป
ขนสั้น รูปร่างสมส่วน หางเรียวยาวและตรง
ส่วนเรื่องราวตำนานของศุภลักษณ์ ที่เล่ากันว่า
ถูกกวาดต้อนไปกับพม่า โดยส่วนตัวคิดว่า
แมวเป็นสัตว์ที่ตกใจง่ายถ้ามีเสียงดัง
จากประวัติศาสตร์ที่บันทึกไว้ มีทั้งเสียงปืน เสียงปืนใหญ่
เค้าก็คงวิ่งสุดกำลัง ไร่จุดหมายแน่ ไปกันคนละทิศละทาง
ถึงแม้ตามเจ้าของไปแต่คงไม่มากตัว
และสาเหตุการสูญพันธุ์คือ เมื่อแมวสีนี้
ไปผสมกับแมวชนิดอื่นมักเป็นสีดำ
ต้องเป็นแมวที่มีลักษณะเดียวกันเท่านั้น
ทำให้การสืบทอดสายพันธุ์ยากมาก
แมวศุภลักษณ์ ก็น่าจะมีชะตากรรมเช่นแมวตัวอื่น
ยังคงมีให้เห็นในประเทศไทย เค้ายังมีชีวิตอยู่ในบ้านเรา
มีการเข้าใจผิด ว่าถูกจดทะเบียนไปแล้ว โดยใช้ชื่อว่า
Burmese Cat เนื่องจากปี พ.ศ. 2473 ดร.โจเซฟ ซี ทอมสัน
ชาวอเมริกัน ได้นำแมวตัวเมียสีน้ำตาลจากประเทศพม่า
ซึ่งคิดว่าเป็นแมววิเชียรมาศที่สีผิดเพื้ยนไปเป็นสีน้ำตาลเข้ม
ใช้เวลาอยู่หลายปีในการเพาะพันธุ์ จากนั้นนำไปจดทะเบียน
ที่ประเทศอังกฤษ ตั้งชื่อว่า Burmese Cat หรือแมวพม่า
ซื่งมีลักษณะที่ไม่ได้ตรงกับแมวศุภลักษณ์
ในตำราสมุดข่อย ในประเทศไทยเลย
เปรียบเทียบแมวศุภลักษณ์กับแมวเบอร์มิส
ที่แมวไทย.com บางรัก เราทำการเพาะพันธุ์
โดยอิงหลักวิทยาศาสตร์ แมวที่หาได้ในประเทศ
เราจะส่งเนื้อเยื้อกระพุ้งแก้มไปตรวจ หา DNA
รหัส DNA ของแมวศุภลักษณ์ มี 6 DNA เท่านั้น
ที่บ่งบอกว่าเป็นแมวศุภลักษณ์ มีดังนี้
1.CC bb DD รหัสนี้ คือ เป็นศุภลักษณ์แท้ 100 %
มีขนน้ำตาลทองแดงล้วนทั่วตัว
2.Ccs bb DD คือ ลักษณะภายนอกเป็นแมวศุภลักษณ์
สีน้ำตาลล้วนไม่มีแต้มเข้ม แต่ซ่อนยีนส์ของแมววิเชียรมาศอยู่ในตัว
3.Ccb bb DD คือ ลักษณะภายนอกเป็นแมวศุภลักษณ์
สีน้ำตาลล้วนไม่มีแต้มเข้ม แต่ซ่อนยีนส์ของแมวเบอร์มิสอยู่ในตัว
4.CC bb Dd คือ เป็นศุภลักษณ์แท้ 100 % มีขนสีอ่อนออกทองแดงจัดทั่วตัว
5.Ccs bb Dd ลักษณะภายนอกเป็นแมวศุภลักษณ์ สีน้ำตาลแดงล้วน
ออกทองแดงจัด ไม่มีแต้มเข้ม แต่ซ่อนยีนส์ของแมววิเชียรมาศอยู่ในตัว
6.Ccb bb Dd คือ ลักษณะภายนอกเป็นแมวศุภลักษณ์ สีน้ำตาลแดงล้วน
ออกทองแดงจัด ไม่มีแต้มเข้ม แต่ซ่อนยีนส์ของแมวเบอร์มิสอยู่ในตัว
ขณะนี้แมวไทยบางรัก
ร่วมกับ
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
และนักวิทยาศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข
นายสรายุทธ พิบูลนิธิเกษม
ทำการวิจัยเรื่อง DNA สีขนของแมวเอง
ในประเทศไทย ไม่งั้นต้องส่งไป เมืองนอก ตัวละ 2000 กว่าบาท
และเพื่อเป็นประโยชน์กับแมวอีกหลายตัวในประเทศ
กำลังดำเนินงานอยู่ในขั้นตอนการปั่นเลือดแมว
ตัวอย่างตำราในสมุดข่อย